hehe
รูปแบบของเคาน์เตอร์ห้องครัว

รูปแบบของเคาน์เตอร์ห้องครัว

รูปแบบของเคาน์เตอร์ห้องครัว

 

   

การวางผังเคาน์เตอร์นั้นต้องจัดวางให้เหมาะสมกับการใช้งาน เหมาะสมกับพื้นที่ และได้รับประโยชน์ในการใช้สอยได้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะ คือ



1. ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัด I (I-Shaped Kitchen) ตู้ครัวอยู่ชิดผนังเป็นเส้นตรง อุปกรณ์หัวเตา อ่างล้างจานและตู้เย็น เป็นครัวที่มีการจัดวางเป็นแบบแถวเดียวชิดผนังหมด

เหมาะสำหรับครัวในบ้านหลังเล็กๆ เริ่มจากส่วนบริเวณทำความสะอาดอ่างน้ำสำหรับล้าง ถัดมาเป็นส่วนเตรียมอาหารและเตา เมื่ออาหารเสร็จเรียบร้อยก็นำมาวางบนที่วางพักอาหารเพื่อรอเสิร์ฟ

การจัดแบบนี้เริ่มจากขวามือไปยังด้านซ้ายของเคาน์เตอร์ในครัว


2. ลักษณะการจัดวางแบบเส้นขนาน 2 ด้าน (Gallery Kitchen) ตู้ครัวมีทั้งหมด 2 ตู้ อยู่ตรงข้ามกับแบบเส้นขนาน การประกอบอาหารจะสะดวกกว่าแบบเส้นตรงเพราะ

ตำแหน่งของหัวเตา อ่างล้างจานและตู้เย็นอาจอยู่ตรงข้ามกันตามความเหมาะสม



3. ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว L (L-Shaped Kitchen) เป็นครัวที่ใช้การได้ดีเช่นกันสำหรับการทำงานในจุดทั้งสาม (เตา ,อ่าง ,ตู้เย็น) เหมาะกับห้องที่มีเนื้อที่ปานกลาง

และเป็นบ้านโล่งๆ ที่ไม่มีการกั้นแบ่งห้องทุกห้อง (Open Plan) ขนาดห้องครัวประมาณ 2.50 x 3.00 เมตร ลักษณะการจัดวางอุปกรณ์สามารถทำได้ง่ายกว่าแบบแถวยาวตามทางเดิน

เนื่องจากมีพื้นที่มากขึ้นและระยะเคลื่อนที่ขณะใช้งานน้อยลง ที่สำคัญคือ ควรจัดให้ส่วนเตรียมอาหารและเตาอยู่ติดผนังด้านที่สามารถระบายกลิ่นควันออกภายนอกบ้านได้ง่าย


4. ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว U (U-Shaped Kitchen) เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่เหลือเฟือ ครัวนี้จึงมีความยืดหยุ่นมากที่สุดเพราะยังสามารถขยายพื้นที่ของเคาน์เตอร์

และชั้นเก็บของต่างๆ ได้ แบบนี้มีขนาดประมาณ 3.00 x 3.00 เมตร ลักษณะห้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากห้องมีขนาดใหญ่มากอาจเพิ่มโต๊ะกลางสำหรับพักอาหารหรืออุปกรณ์อื่นได้อีก

เพดานห้องครัวไม่ควรจะต่ำเกินไป เพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่สะดวกเท่าที่ควรและอาจทำให้อึดอัด ได้ สำหรับห้องครัวในบ้านธรรมดาทั่วไปควรมีเพดานสูงจากพื้น 2.20 – 2.70 เมตร



5. ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว G (G-Shaped Kitchen) เป็นครัวที่ออกแบบเพื่อใช้งานต่อเนื่องจากครัวรูปตัวยู มีรูปแบบการใช้งานคล้ายครัวรูปตัวยูทุกอย่าง

แต่สิ่งที่เพิ่มมาคือเพนนินซูล่า เป็นเคาน์เตอร์ที่อยู่ตรงกลางห้องเพื่อให้เป็นส่วนรับประทานอาหารเล็กๆ คล้ายมินิบาร์สำหรับ 2 - 4 ที่นั่ง อยู่ที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งของตัวยู

เพนนินซูล่ามักออกแบบให้ต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของเคาน์เตอร์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือพับเก็บได้ ด้านล่างทำเป็นลิ้นชักสำหรับเก็บข้าวของหรือเปิดโล่งเพื่อเก็บเก้าอี้เมื่อไม่ได้ใช้งาน

พื้นที่บริเวณเพนนินซูล่านี้อาจไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารมื้อใหญ่อย่างมื้อเย็นที่มีสมาชิกมาก แต่เหมาะสำหรับเป็นที่รับประทานอาหารเช้า หรือพื้นที่เตรียมเสิร์ฟอาหารหากมี งานเลี้ยงภายในบ้าน



6. ลักษณะการจัดวางแบบเกาะกลาง (Island Kitchen) โดยพัฒนามาจากครัวรูปตัว L และมีเกาะกลางหรือไอส์แลนด์ (Island) ที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นอ่างล้างจาน เตาปรุงอาหาร ที่วางของ

หรือโต๊ะรับประทานอาหาร ลักษณะของไอสแลนด์มักเป็นเคาน์เตอร์รูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าเพื่อสามารถใช้ ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยมีระยะห่างกันระหว่างเคาน์เตอร์กับไอส์แลนด์ไม่น้อย กว่า ด้านละ 1.20 เมตร

ความสูงของเกาะกลางจะอยู่ที่ประมาณ 0.90 เมตร หรือปรับเปลี่ยนความสูงตามผู้ใช้